www.aqua.co.th ออกแบบ, ก่อสร้าง, และติดตั้ง ผลิตและจำหน่าย อุปกรณ์ผลิตน้ำประปา และบำบัดน้ำเสีย

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ฉบับที่ 2/2553 _Eco-Design กับงานออกแบบวิศวกรรมเครื่องจักรกล

Eco-Design กับงานออกแบบวิศวกรรมเครื่องจักรกล
แนวทางออกแบบ สร้างเครื่องจักรเพื่อลดต้นค่าใช้จ่าย และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

บทนำ
   
งานด้านวิศวกรรมเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ทั่วโลก นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หรืออาจกล่าวได้ว่าเริ่มตั้งแต่เริ่มกำหนดมนุษย์ มนุษย์ก็พยายามคิดค้นสิ่งต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต หรือการใช้ชีวิต เริ่มตั้งแต่ มนุษย์พยายามคิดค้นสร้างที่อยู่อาศัย อาคาร หรือการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในการช่วยทำงานหรือการผ่อนแรงในการทำงาน ซึ่งสิ่งต่างๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น หรือสร้างสรรค์ขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกกิจกรรมของมนุษย์ ต้องผ่านกระบวนการคิด และออกแบบก่อนทั้งสิ้น ศาสตร์ด้านวิศวกรรมเครื่องกล เป็นศาสตร์หนึ่งทางด้านวิศวกรรม ที่เก่าแก่และกว้างขวาง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเครื่องยนต์กลไก ยานพาหนะ หรือสิ่งที่เกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ระบบปรับอากาศ เครื่องบิน หรือแม้แต่เรือดำน้ำ ปัจจุบันงานด้านวิศวกรรม โดยเฉพาะงานด้านวิศวกรรมเครื่องกลคงเป็นปัจจัยที่ห้า หรือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว เช่น การเดินทางไปไหนมาไหน ก็ต้องพึ่งพายานพาหนะทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นรถส่วนตัว หรือรถโดยสารประจำทาง ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันการพัฒนางานวิศวกรรมยังคงมองประโยชน์การใช้สอยเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทำให้สิ่งประดิษฐ์เหล่านั้นส่วนผลเสียหรือผลกระทบต่อมนุษย์มากขึ้นทุกที ดังนั้น รูปแบบการออกแบบ หรือการสร้างสรรค์งานด้านวิศวกรรมในอนาคตอั้นใกล้จะเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อการดำรงอยู่ของมนุษย์เป็นไปอย่างยั่งยืน


       
รูปที่ 1 แสดงการออกแบบเพื่อสร้างชิ้นงานทางด้านวิศวกรรม

        การออกแบบวิศวกรรม โดยเฉพาะการออกแบบในงานวิศวกรรมเครื่องกล เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการสร้างชิ้นงาน หรือผลิตภัณฑ์ การบำรุงรักษา หรือแม้แต่ต้นทุนในการสร้างชิ้นงาน หรืออุปกรณ์ งานออกแบบวิศวกรรมประกอบด้วยหลายขั้นตอน และต้องใช้ประสบการณ์ในการออกแบบเพื่อให้ชิ้นงานที่สร้างขึ้นสามารถใช้งานได้ตามต้องการ แต่ปัจจุบันการออกแบบงานด้านวิศวกรรมจะคำนึงถึงแต่การใช้งาน ต้นทุนงาน หรือการดูแลรักษาอย่างเดียวคงไม่พอในยุคที่กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และกระแสความพยายามในการลดสภาวะโลกร้อน ปัจจุบันผู้ออกแบบ หรือวิศวกร ที่ต้องการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมาใหม่หนึ่งชิ้นเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าหรือมนุษย์ จะต้องมีความรู้เพิ่มเติมในส่วนของ Eco-design หรือ การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่กระบวนการออกแบบและยังเป็นการลดต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการผลิต ผลิตภัณฑ์อีกด้วย นับตั้งแต่วินาทีนี้ Eco-design จะสิ่งที่วิศวกร หรือผู้ออกแบบทุคนต้องเรียนรู้อย่างจริงจัง

   
รู้จัก การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ หรือ Eco Design
นับตั้งแต่ยุดประวัติอุตสาหกรรม คริสต์ศตวรรษที่ 18 และ19 อุตสาหกรรมด้านต่างๆก็ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้านต่างๆมากมายเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะถ่านหิน มีการใช้กับเครื่องจักรไอน้ำ เพื่อเป็นต้นกำลังในงานอุตวสหกรรมด้านต่างๆ ดังแสดงในรูปที่ 2 เป็นเครื่องจักรไอน้ำที่ประดิษฐ์โดยเจมส์ วัตต์  การประดิษฐ์คิดค้นหรือสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆมากมาย ในอดีต เพื่ออำนวยความสะดวก หรือตอบสนอบความต้องการของมนุษย์ ก่อให้เกิดการบริโภคอย่างมหาศาล โดยเฉพาะการบริโภคในรูปของพลังงาน สำหรับกิจกรรมด้านต่างๆ ของมนุษย์ เช่น การใช้พลังงานฟอสซิล ในเครื่องยนต์กลไก ยานพานหนะ โรงงานอุตสาหกรรม หรือ การผลิตไฟฟ้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน หรือส่งผลกระทบต่อ

      
รูปที่ 2 เครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์
(ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/James_Watt)

สิ่งแวดล้อมของโลกอย่างต่อเนื่องและมากมายมาตลอด  หรือในยุคต่อมา การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่สิ่งอำนวยความสะดวก หรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ จะเน้นการใช้ประโยชน์ ความสวยงาม หรือคุณค่าของผลิตภัณฑ์ ซึ่งบางครั้งการอกกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างคุ้มค่า ทำให้เกิดการเสื่อมโทรมของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของมวลมนุษย์ทั่วทั้งโลก และยิ่งไปกว่านั้นยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศของโลก คือทำให้โลกร้อนขึ้น หรือเราเรียกว่า สภาวะโลกร้อน ดังนั้น การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ในยุดปัจจุบัน และยุดหน้าคงหลีกเลี่ยงการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่ได้ และจะต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมๆกัน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน การออกแบบผลิตภัณฑ์ในอนาคต อาจต้องเน้นพิจารณาหลายอย่างไปพร้อมๆกัน โดยเริ่มตั้งแต่การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การออกแบบให้ผลิตภัณฑ์มีประโยชน์ใช้สอยสูงสุดแต่ใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด ไปจนกระทั่งเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆหมออายุแล้วจะต้องมีการทำลายอย่างถูกต้อง
ดังแสดงในแผนภาพที่ 3 การได้มาซึ่งสิ่งต่างๆที่กล่าวมา ต้องอาศัยกระบวนการที่ผนวกแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์และด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปในขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยพิจารณาตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) เราเรียกว่า การออกแบบเชิงนิเวชเศรษฐกิจ (Economic and Ecological design, Eco-design or Green Design)



รูปที่ 3 เป็นการพิจารณาการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยพิจารณาตลอดวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์

การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ หรือ การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม       
ในกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ในอดีตและปัจจุบันจะมีกระบวนผลิตคล้ายกันไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ใด ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการ ดังนี้
1.การสกัดจากสารธรรมชาติ หรือแร่ธาตุมาเป็นวัตถุดิบ
2.กระบวนการแปรรูปวัตถุดิบพร้อมใช้งาน
3.ช่วงการวางแผนผลิต และผลิตภัณฑ์
4.การออกแบบผลิตภัณฑ์
5.การผลิต-ผลิตภัณฑ์
6.การบรรจุหีบห่อและการขนส่ง
7. การใช้งานและซ่อมบำรุง
8.การกำจัดทิ้ง
ดังแผนภาพที่ 4 ซึ่งในกระบวนการผลิตดังกล่าว ผู้ผลิต หรือผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ยังให้ความสนใจเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมน้อย โดยมุ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเพียงอย่างเดียว

รูปที่ 4 แสดงวงจรการผลิตภัณฑ์แบบเดิม

แต่ปัจจุบันสภาพสิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติโลกเริ่มเปลี่ยนแปลงและนับวันยิ่งมีความรุ่นแรงมากขึ้นทุกวัน จากการใช้ทรัพยากรอย่างขนาดความระมัดระวัง หรือคุ้มค่า ดังนั้นสังคมโลกและประเทศต่างๆที่มีความเจริญแล้วพยายามกำหนดข้อกำหนดต่างๆเพื่อให้กระบวนการผลิตมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทำให้กระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ต้องมีการปรับปรุงกระบวนการให้ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่การออกแบบจนถึงการกำจัดทำลายผลิตภัณฑ์แบบครบวงจรของผลิตภัณฑ์ โดยใช้หลักการ 4R บวนการผลิต ในทุกกระดังแสดงในรูปที่ 5

รูปที่ 5 การประยุกต์ใช้การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมโดยใช้หลัก 4R ในกระบวนการผลิตภัณฑ์

    จากรูปที่ 5 เป็นการนำหลักการ 4R มาประยุกต์ใช้ในวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยหลัก 4R จะประกอบด้วย การลดการใช้ (Reduce) การใช้นำกลับมาใช้ (Reuse) การซ่อมบำรุง (Repair) และการรีไซเคิล (Recycle)
     การลดการใช้ (Reduce) เป็นการลดการใช้ทรัพยากรในช่วงต่างๆของในวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่กระบวนการออกแบบ การผลิต การบรรจุหีบห่อ และการใช้งาน โดยขั้นตอนการออกแบบพยายามออกแบบลดการใช้ทรัพยากร หรือออกแบบให้เหมาะสมกับวัสดุในท้องตลาดและให้เหลือเศษน้อยที่สุด หรือออกแบบให้มีการใช้พลังงานในส่วนต่างๆของในวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ให้มีการใช้น้อยลง ส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์ พยายามลดการใช้วัตถุดิบหรือใช้วัตถุดิบที่มามาจากการนำกับมาใช้ใหม่ หรือจากกระบวนการรีไซเคิล ในการใช้งานผลิตภัณฑ์ก็ออกแบบให้มีการใช้พลังงานของผู้ใช้ให้น้อยลงออกแบบให้ผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น
    การนำกลับมาใช้งานใหม่ หรือการใช้ซ้ำ(Reuse) เป็นการนำผลิตภัณฑ์ หรือบางส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการใช้งานแล้วและกำลังจะทิ้ง หรือทำลาย นำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งอาจนำกลับมาใช้กับผลิตภัณฑ์เดิม หรือออกแบบให้ใช้กับผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ เช่น บริษัทรถยนต์ ในค่าย BMW และ Volkswagen ได้ออกแบบรถยนต์ที่สามารถถอดส่วนประกอบได้เพื่อนำชิ้นส่วนบางชิ้นส่วนของรถยนต์กลับมาใช้ใหม่ได้ หรือให้ง่ายต่อการนำไปรีไซเคิลได้ 100% เป็นต้น 
    การซ่อมบำรุง (Repair) การซ่อมบำรุงและการบำรุงรักษาเป็นกระบวนที่สำคัญในการยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ให้มีความยาวนานในการใช้งาน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาตามความเหมาะสมแต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งผู้ออกแบบต้องกำหนดไว้ในคู่มือการใช้งาน และอีกทั้งต้องออกแบบให้มีการถอดประกอบผลิตภัณฑ์ที่ง่ายเพื่อความสะดวกในการซ่อมบำรุง เช่น บริษัท DELL ได้ออกแบบคอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยชุดส่วนประกอบย่อยๆเพื่อง่ายต่อการถอดประกอบเพื่อการซ่อมบำรุงและการนำชิ้นส่วนกลับมาใช้ใหม่ได้
    การรีไซเคิล (Recycle) เป็นการนำผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในช่วงการทิ้งหรือทำลาย มาผ่านกระบวนการแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ ในขั้นตอนการวางแผน การออกแบบ ขั้นตอนการผลิตหรือการบรรจุหีบห่อ ตัวอย่างการรีไซเคิล บริษัท HP ได้ออกแบบเครื่องพิมพ์อิงเจ็ท โดยใช้กรอบตัวเครื่องพิมพ์ทำจาดพลาสติกที่รีไซเคิลจากโทรศัพท์มือถือ มีการระบุชนิดของพลาสติกที่ใช้ เพื่อง่ายต่อการคัดแยกกลับมารีไซเคิล และออกแบบการทำงานของเครื่องพิมพ์ให้มีระบบประหยัดพลังงานขณะไม่ใช้งาน เป็นต้น
    ซึ่งการประยุกต์ใช้การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ Eco design นอกจากช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอด วัฎจักรผลิตภัณฑ์แล้วยังผลดีอีกหลายประการ เช่น
    1.ลดค่าใช้จ่าย หรือต้นทุนการผลิต ในการลดการใช้ทรัพยากรและการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต การบรรจุหีบห่อและการขนส่ง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลกำไรของบริษัท หรือองค์กร
    2. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กรและผลิตภัณฑ์ อีกทั้งเป็นการสร้างจุดเด่นในการขายสินค้าที่รักษาสิงแวดล้อมและทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นในการใช้ผลิตภัณฑ์
    3. เป็นการลดข้อจำกัดหรือกฎข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อมในบางประเทศที่มีการกีดกันสินค้าที่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สาระน่ารู้ คู่ Tube Settler

 


แผ่นช่วยตกตะกอน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบบำบัดน้ำเสีย,  ระบบผลิตน้ำสะอาด, สำหรับอุตสาหกรรม, ระบบผลิตน้ำประปา และ ในขบวนการตกตะกอนทางเคมี หรือ ใช้ติดตั้ง เพื่อปรับปรุง ระบบผลิตน้ำ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตน้ำประปา โดยไม่ต้องสร้าง Plant ใหม่ เป็นต้น

การนำไปใช้งาน (Application)
  • แผ่นช่วยตกตะกอนใช้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของถังตกตะกอน
  • ช่วยลดปริมาณของสารแขวนลอยของน้ำที่บำบัดแล้ว ให้ดียิ่งขึ้น
  • ใช้ในการปรับปรุงระบบตกตะกอนที่มีอยู่เดิมให้สามารถรับปริมาณอัตราการไหลที่เพิ่มขึ้นได้อย่างดีเยี่ยม
  • สามารถใช้กับการออกแบบระบบใหม่ซึ่งสามารถลดขนาดของพื้นที่ ๆ ใช้ในการก่อสร้างได้อย่างมากลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างแต่ยังคงให้ประสิทธิภาพในการตกตะกอนสูง

ข้อมูลผลิตภัณฑ์ (Product Data)
แผ่นช่วยตกตะกอนทำจาก PVC ขึ้นรูปโดยวิธิการ Extrude processing ซึ่งเป็นการขึ้นรูป จาก Mold จะทำให้ชิ้นงานมีความเที่ยงตรง สม่ำเสมอกันทุกชิ้นโดยแผ่นที่ขึ้นรูปเสร็จจะมี แถบช่อง (Slot) ในตัวเองเพื่อใช้ในการสอดประกบกับแผ่นอื่น และประกอบขึ้นเป็นก้อน และทำการยึดติดด้วยกาวชนิดพิเศษ ( PVC Cement Glue)
ความถ่วงจำเพาะ                        =  1.4
น้ำหนัก                                       =  75    kg/m3 (approx)
Separator Height    500 mm.        =  5.5 m2 setting area/m2 Plan area
                            1000 mm.        = 11 m2 settling area/m2 Plan area
                                                     Continuous Working Temp.           =  55 degree Celsius


ข้อมูลการออกแบบ (Design Data)
Settling Area                : 60 angle  slope  :  11  m2/m3
                                    : 55 angle  slope  :  13  m2/m3
Cross Sectional area    : 120  mm. X 44 mm.
Shape                          : Hexagonal

Block Widths               :(R-1) ) X 127 mm. + 176 mm.
                                    : R = Number of Profile rows
Block Volumes            : W x L x H <= 0.6 m3
Block Lengths              : ปรับเปลี่ยนได้ตามระยะห่างของคานรองรับ โดยใช้คานรองรับ 2 คานต่อก้อนใช้   คานตัว T ขนาด ไม่น้อยกว่า 60 มม. และระยะห่างของคานไม่ควรเกิน 1000 มม.

การรับน้ำหนัก              : เมื่อนำแผ่นไม้มาปูบนแผ่นตกตะกอน ต้องสามารถรับน้ำหนักกดทับได้ไม่น้อยกว่า 100 Kgs / ft2 
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ “ MM Aqua ” Tube Settler
  • ผลิตจากพลาสติก PVC คุณภาพสูง ขึ้นรูปด้วยการฉีดพลาสติกด้วย mold ซึ่งต่างจากการขึ้นรูปด้วยการรีดลอน จึงทำให้มีความแข็งแรงมากกว่า
  • มีความหนาของแผ่นมากกว่าทั่วไป จึงมีความแข็งแรงและทนทานต่อการใช้งานมากกว่า ปริมาตร 1 ลบ.ม. มีขนาดพื้นที่ตกตะกอน 11 ตร.ม.ทำให้รองรับปริมาณน้ำที่เข้ามาได้มากกว่าแบบทั่วไป
  • วิธีการต่อเรียงกันใช้วิธีการต่อแบบสวมเข้าร่อง มีรูปร่างแบบ Hexagonal-Chevron ซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพ

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ฉบับที่ 1/2553_อุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย เพื่อการใช้น้ำอย่างยั่งยืน

ฉบับที่ 1/2553
Eco-Equipment Wastewater Treatment
อุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย เพื่อการใช้น้ำอย่างยั่งยืน

ตอนที่ 1 แนะนำอุปกรณ์เบื้องต้นในระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อการใช้น้ำอย่างยั่งยืน

ปัจจุบันกระแสการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อมมีการกล่าวถึงอย่างกว้าง เพื่อลดภาวะเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน ซึ่งปัจจุบันเริ่มส่งผลกระทบทั่วทุกมุมโลก ทั้งฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องจนเกิดภาวะน้ำท่วม หรือแม้แต่เกิดภาวะภัยแล้งอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในประเทศไทย เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน จนภาวะน้ำสำรองในแต่ละเขื่อน หรืออ่างเก็บน้ำลดลงมาจนส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรมของไทย ดังนั้น การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในกิจกรรมต่างๆในการดำเนินชีวิต รวมถึงในภาคอุตสาหกรรม

 
รูปที่  1 การพิจารณากระบวนการในวัฎจักรของผลิตภัณฑ์เพื่อลดผลกระทบกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับน้ำ เพราะน้ำถือเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด โดยเฉพาะมนุษย์ที่ใช้ประโยชน์จากน้ำในการอุปโภคและบริโภค นอกจากนี้ยังใช้น้ำเป็นแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้า ถึงแม้ว่าน้ำจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและหมุนเวียนให้ใช่อย่างไม่มีวันหมด แต่ถ้ากิจกรรมต่างๆของมนุษย์มีแต่ทำลายและทำให้น้ำเน่าเสียอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ธรรมชาติไม่สามารถบำบัดได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็วเท่ากับการใช้ และทำให้น้ำเน่าเสียของมนุษย์ สักวันเราอาจจะไม่มีน้ำในสภาพดีพร้อมใช้ในการ อุปโภคและบริโภค นั้นหมายถึงการส่งผลกระทบต่อดำเนินชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆบนโลก และอาจไม่สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ ดั้งนั้น การบำบัดน้ำจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ทั้งในภาคครัวเรือน และภาคอุตสาหกรรมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีระบบบำบัดน้ำเสียอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดการใช้พลังงานในระบบบำบัดน้ำเสีย รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในระบบบำบัดน้ำเสีย มีการออกแบบให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น หรือลดการใช้พลังงานไฟฟ้าให้น้อยลง รวมถึงการบำรุงรักษาที่ง่ายขึ้น หรือแม้แต่ยืดอายุการทำงานของอุปกรณ์ให้มีการใช้งานที่ยาวนานขึ้น กระบวนการดังกล่าว ปัจจุบันเรียกว่า Eco-Equipment Design
อุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย (Equipment Wastewater Treatment) มีความสำคัญต่อกระบวนการบำบัดน้ำเสียเป็นอย่างมาก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดภาระในระบบบำบัดน้ำเสีย อุปกรณ์บำบัดน้ำเสียจะแทรกอยู่ทุกกระบวนการบำบัดน้ำเสียทั้งแต่ต้นกระบวนการบำบัดน้ำ จนถึงการปล่อยน้ำออกจากระบบ ในสภาพที่เหมาะแก่การใช้งานทั้งการนำน้ำกลับมาใช้งานอีกครั้ง หรือการปล่อยลงส่งแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยไม่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ตัวอย่าง อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในระบบบำบัดน้ำเสีย สามารถแสดงได้ในรูปที่ 2


เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสีย จะแบ่งกระบวนการบำบัดออกเป็น 3 ส่วน คือ การบำบัดขั้นปฐมภูมิ (Primary Treatment) การบำบัดขั้นทุติยภูมิ (Secondary Treatment) และ การบำบัดขั้นตติยภูมิ (Tertiary Treatment) อุปกรณ์บำบัดน้ำเสียจะถูกแทรกอยู่ในกระบวนการบำบัดน้ำเสียในขั้นต่างๆด้วยเช่นกัน อาจกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้

การบำบัดน้ำเสียในขั้นปฐมภูมิ (Primary Treatment) จะเป็นการบำบัดขั้นต้น ส่วนใหญ่จะเป็นการบำบัดทางกายภาพ อุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการนี้ เป็นอุปกรณ์จำพวก ตะแกรงแยกของแข็ง อุปกรณ์ดักไขมันหรือน้ำมัน ถังตกตะกอน ถังลอยตะกอน เป็นต้น 
การบำบัดขั้นทุติยภูมิ (Secondary Treatment) จะเป็นกระบวนการบำบัด
การบำบัดขั้นตติยภูมิ (Tertiary Treatment)

อุปกรณ์บำบัดน้ำเสียที่กล่าวมาข้างต้น แต่ละชนิดจะมีคุณลักษณะประจำเครื่องที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวิธี กระบวนการบำบัดน้ำเสีย และการออกแบบของผู้ออกแบบ อุปกรณ์แต่ละชนิด ผู้เขียนจะกล่าวถึงโดยละเอียดในตอนต่อๆไป โดยจะอธิบายถึงหลักการทำงาน ส่วนประกอบทั่วไป และรูปแบบที่มีใช้งานในปัจจุบัน โดยมีความมุ่งหวังว่า บทความในตอนนี้ และตอนๆไปจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน ทั้งในการทำงาน และเป็นความรู้ทั่วไป
Emerson กล่าวไว้ว่า “แก้วแหวนเงินทองหาใช่ของขวัญไม่ แต่เป็นเพียงการหลีกเลี่ยงที่จะให้ของขวัญแท้ ของขวัญแท้คือการให้ส่วนหนึ่งของชีวิตตนเองแก่ผู้อื่น

                                         นายเอียด
                                (นายทนงศักดิ์ วัฒนา)
                           



วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

อุปกรณ์ ดัก ขยะ,น้ำมัน

เครื่องเตรียมสารโพลีเมอร์ Polymer Preparation Unit

เครื่อง เตรียมสารละลายโพลิเมอร์

po8







AQWa floc เป็นระบบเตรียมสารละลายโพลิเมอร์อัตโนมัติสำเร็จรูป ซึ่งถูกออกแบบมาให้ใช้ในการเตรียม สารละลายโพลิเมอร์ โดยการละลายผงโพลิเมอร์ เพื่อใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการรวมตัวของตะกอน ในขบวนการบำบัดน้ำเสียหรือระบบผลิตน้ำดีสามารถเลือกได้ทั้งถังที่ทำจากเหล็ก กล้าไร้สนิม, โพลีเอ็ท หรือ ไฟเบอร์กลาสการทำงานของเครื่องจักรถูกควบคุมการทำงานด้วยระดับสารละลายในถัง เตรียมและถังเก็บสารเคมีเมื่อถังเตรียมสารละลายแสดงสถานะระดับน้ำต่ำ ระบบจะทำการเตรียมสารละลายใหม่ทันที ต่อจากนั้นระบบจะทำการสั่งให้ทำการปล่อยสารละลายลงสู่ถังเก็บสารละลายทันที เมื่อเตรียมสารละลายเข้ากันดีแล้ว